เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ทำงานก็หนัก เรียนก็เยอะ......ปวดหัว..มีเมียกีกว่า

ผู้ติดตาม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

วงจรสี


องค์ประกอบการออกแบบสี Element of Desing

Hue = เนื้อสี , ตัวสี

Saturation = ความจัดจ้านของสี เช่น ดำปี๊ด แดงแป๊ด

Value = ค่าน้ำหนักของสี


1.Monochromation การใส่สีเดียว สร้างความแตกต่างของโทนสี ด้วยระบบ ความมืด สว่างของสี

2.Triads การใช้สี 3 สีจากคู่ที่อยู่ตรงข้ามกันการทดลองใช้หลายรุปแบบเพ่อนสร้างความแตกต่าง

3.anoalogous ใช้สีที่มันอยู่ติดกัน การใช้สีใกล้เคียงกัน ดดยเลือกจากสีที่อยู่ถัดไป อีก 2-3 สี สามารถสร้างความกลมกลืนได้ดี

4.Complementary ใช้สีตรงข้าม การใช้สีตรงข้ามกัน สามารถช่วยเน้นความรู้โดดเด่นได้ดีควรใช้สีดำ หรือสีเทาเพื่อลดความรุนแรงของสี นอกจากนั้นการใช้สี 2 สีที่แตกต่างกันมากจะทำให้มีความสำคัญเท่ากัน ดังนั้นจึงควรลดความเข้มของสีหนึ่งลง

5.Split-complements การใช้สีแบบผสม เป็นการผสมผสานระหว่างสี โทนร้อนและเย็นโดยเริ่มจากการเลือกสีใด สีหนึ่ง และจับคู่กับอีก 2 สี ในโทนสีตรงข้ามกัน


การใช้ตัวอักษร TYPOGRAPHY


TypoGroaphy หมายถึง ตัวพิมพ์ การพิมพ์ ศิลปะการพิมพ์ การพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ การจัดตัวเรียง และผลงานการพิมพ์อันเนื่องมาจากตัวพิมพ์


1.รูปแบบตัวอักษร (Type face) อักษรไทยมีหลายรูปแบบ สามารถจัดเป็นกลุ่มได้เช่น ตัวแบบราชการตัวแบบอารักษื ตัวแบบหัวกลม ตัวแบบหัวตัด

2.ขนาดของตัวอักษร (Size) ขนาดความสูงของตัวอักษรควรสอดคล้องกับวัยของผู้อ่านการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ตำแหน่งหรือระยะในการ มองเห็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ควรใช้ความสูง 9,10,11,12 พ้อยท์ เป็นตัวพื้นในขณะที่ภาษาไทยใช้ความสูง 12,14,16 พ้อยท์เป็นตัวพื้น

3.ควากลมกลืนของตัวอักษร ควรใช้ตัวอักษรที่มีลักษณะเข้ากัน ได้ ( Unity) เป็นตัวอักษรแบบเดียวกันหรือคล้ายกันเพื่อให้เกิดความกลมกลืน หรือความเป็นหน่วยเดียวกัน

4.ลักษณะและความอารมณ์ของตัวอักษร (Typecarector) ตัวอักษรแต่ละแบบให้อารมณ์และความรู้สึกแตกต่างกัน จึงควรพิจารณาใช้ให้เหมาะสมกับเรื่องที่ต้องการแสดงออกเช่น ความหวานซึ้งของนวนิยาย ความลึกลับน่าสะพึงกลัว

5.ความกว้างของข้อความหรือคอลัมม์ (Colum) ควรกำหนดให้เหมาะสมกับขนาดความกว้างยาวของสิ่งพิมพ์ เช่นถ้าเป็นหนังสือขนาด 8 หน้ายกธรรมดา หรือ 8 หน้าพิเศษ 2 คอลัมม์จะกว้างประมาณ 8-9 เซนติเมตร ถ้า 3 คอลัมม์ จะกว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตร นิตยสารบางฉบับอาจทำเป็น 4 คอลัมมืเพื่อให้ดูโปร่งตา น่าอ่าน ซึ่งจะกว้างประมาณ3-4 เซนติเมตร


รูปแบบ FONT ต่างๆ